โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (ATOPIC DERMATITIS) | Pattaya City Hospital | โรงพยาบาลเมืองพัทยา เราพร้อมดูแลคุณ

ความรู้เรื่องโรค

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (ATOPIC DERMATITIS)

Date : 18 December 2023

ข้อมูลจาก : ภาควิชาตจวิทยา Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ภาพจาก : pixabay.คอม

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ คืออะไร
เป็นโรคผิวหนังอักเสบที่เป็นๆ หายๆ พบบ่อยในเด็ก ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีแนวโน้มทางพันธุกรรมอยู่เป็นพื้นฐาน กล่าวคือ ผู้ป่วยมักมีประวัติเยื่อบุตาอักเสบ แพ้อากาศ ไอ  จาม บ่อย ๆ หรือหอบหืด โดยเฉพาะเวลาที่อากาศรอบตัวเปลี่ยนแปลง เช่น ตอนเช้ามืดคนในครอบครัวผู้ป่วยมักมีประวัติโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุต่าง ๆ เช่น เยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้ แพ้อากาศ ไอจามบ่อย ๆ หอบหืด หรือผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ไม่ได้เกิดจากการแพ้อาหารหรือสารเคมีอย่างใด อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เกิดจากผิวหนังของผู้ป่วยไว (sensitive) ต่อ สภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งสภาพร้อน เย็น แห้ง ชื้น เชื้อโรคและสารเคมีที่ระคายผิวหนัง อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเลยก็เป็นโรคนี้ได้เช่น เดียวกัน ทั้งนี้เพราะความผิดปกติซ่อนเร้นอยู่ในยีนของครอบครัวผู้ป่วยโดยไม่เกิด อาการก็ได้

อาการและลักษณะของผื่นแพ้
ผื่นผิวหนังอักเสบในโรคนี้อาการคันมาก ลักษณะเป็นผื่นแดงหรือมีตุ่มแดงนูน ตุ่มน้ำใส ซึ่งเมื่อแตกออกเป็นน้ำเหลืองไหลเยิ้มแล้วกลายเป็นสะเก็ดแข็ง ถ้าผื่นนี้เป็นมานานเข้าสู่ระยะเรื้อรัง จะพบเป็นแผ่นหนาแข็ง มีขุย ตำแหน่งที่พบผื่นแตกต่างกันได้ตามวัยของผู้ป่วยในเด็กเล็ก ช่วงขวบปีแรก ผื่นผิวหนังอักเสบจะพบมากบริเวณใบหน้า ศีรษะ เด็กมักจะเอาแก้มหรือศีรษะถูกไถกับหมอน ผ้า ที่นอน เพราะผื่นคันมากในเด็กวัยเรียน และผู้ใหญ่ ผื่นผิวหนังอักเสบพบมากในบริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา คอ ใบหน้า และผิวหนังตำแหน่งที่มีการเสียดสีแต่ในรายที่เป็นมากๆ ผื่นเกิดทั่วร่างกายได้

มีวิธีทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังชนิดนี้หรือไม่ ?
การวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ อาศัยประวัติที่ผู้ป่วยมีอาการคันตามตัว เป็นผื่นผิวหนังอักเสบเป็นๆ หายๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะบริเวณข้อพับต่าง ๆ ผู้ปกครองและผู้ป่วยมักมีคำถามเสมอว่ามีวิธีทดสอบหรือไม่ว่าผู้ป่วยแพ้อะไร เช่น การสะกิดฉีด หรือแปะยา ทดสอบใต้ผิวหนัง หรือใช้วิธีการเจาะเลือดตรวจว่าผู้ป่วยแพ้อะไร คำตอบคือ ไม่มีวิธีการทดสอบดังกล่าวที่จำเป็นต้องทำในการดูแลผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยและญาติควรสังเกตตัวเองว่าเมื่อสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมชนิดใดแล้วทำ ให้ผิวหนังอักเสบเห่อขึ้น ก็ควรหลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมเหล่านั้น

อะไรบ้างที่ทำให้ผื่นนี้กำเริบมากขึ้น ?
           1. สภาวะแวดล้อม เช่น สภาวะที่มีละอองเกสร ขนสัตว์ ไรฝุ่น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผื่นมีอาการคันมากขึ้น
           2. เชื้อ โรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา อาจแทรกซ้อนทำให้เกิดการติดเชื้อบนผิวหนังของผู้ป่วย ผิวหนังที่อักเสบอยู่เดิมจะกำเริบมากขึ้น กรณีที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย
           3. ฤดู กาล ผื่นผิวหนังอักเสบมักมีอาการมากขึ้น ในช่วงฤดูหนาว เพราะความชื้นในอากาศต่ำ อากาศแห้ง เย็น ทำให้ผิวหนังผู้ป่วยคันและเป็นผื่น ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน เพราะอากาศที่ร้อนทำให้เหงื่อออกมาก เกิดอาการคันและเกิดผื่นเช่นเดียวกับในฤดูหนาว
           4. เสื้อผ้า เครื่องนุ่มห่ม  และเครื่องประดับที่มีขน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าที่ทำจากขนสัตว์ จะทำให้เกิดการคันเพิ่มเติม
           5. สบู่ ครีม โลชั่น และผงซักฟอกที่ใช้เป็นประจำ สารเคมีเหล่านี้มีฤทธิ์ละลายไขมัน หรือ/และอาจมีส่วนประกอบที่ก่ออาการระคายเคืองแก่ผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน และเป็นผื่นผิวหนังอักเสบได้ง่าย
           6. อาหาร ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ประมาณ 10% พบว่าอาหารบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นแย่ลง มักพบในผู้ป่วยเด็ก เช่น นม ไข่ ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์บางประเภท
           7. จิตใจที่วิตกกังวลความเครียดก็สามารถทำให้โรคกำเริบได้

วิธีการดูแลและรักษา
           1. หลีก เลี่ยงสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้โรคกำเริบมากขึ้น เช่นไม่อยู่ในห้องปรับอากาศที่เย็นจัด ไม่อาบน้ำที่มีอุณหภูมิเย็นหรือร้อนจัด และควรหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เหงื่อออกมาก
           2. ควรรับประทานยาต้านฮิสตามีน ลดอาการคัด เมื่อมีอาการคันควรรับประทานยาต้านฮิสตามีน วันละ 2-3 ครั้งติดต่อ เว้น 5-7 วัน เพื่อลดอาการคัน เพราะอาการคัดทำให้ผู้ป่วยต้องแกะเกาผิวหนัง ผื่นผิวหนังที่อักเสบจะกำเริบขึ้นได้ ยากลุ่มนี้ได้แก่คลอเฟนนิลามีน สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ข้อที่ควรระวังคือ ยานี้มีผลข้างเคียงคือ อาการง่วงนอน
           3. ยา ทากลุ่มสเตรียรอยด์ มีฤทธิ์ลดการอักเสบของผื่นผิวหนัง ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะโรคกลุ่มนี้ต้องใช้ยานาน อาจมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นได้ ถ้าใช้ยาไม่ถูกต้อง
           4. กรณี ที่มีตุ่มหนองเกิดแทรกซ้อนบนตุ่มหรือผื่นแดง แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์เพราะผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย