"เด็กพูดติดอ่าง" ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม | Pattaya City Hospital | โรงพยาบาลเมืองพัทยา เราพร้อมดูแลคุณ

Health Article

บทความเรื่องสุขภาพ

"เด็กพูดติดอ่าง" ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

Date : 21 June 2017

แหล่งข้อมูล : ผศ.ดร. กัลยาณี มกราภิรมย์ หัวหน้าสาขาแก้ไขการพูด ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลราม

“การพูดติดอ่าง” เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับความคล่องแคล่วและจังหวะในการพูด ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนๆ หนึ่งตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ เช่น ถูกล้อเลียน ทำให้ขาดความมั่นใจในการสื่อสาร กลายเป็นเด็กเงียบ แยกตัว อาย เป็นปมด้อยและใช้ท่าทางแทนการพูด

การพูดติดอ่างสามารถพบได้ทุกวัยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในเด็กอายุระหว่าง 2-6 ปี พบ 5% และเด็กชายเป็นมากกว่าเด็กหญิง 3-4 เท่า ซึ่งลักษณะการพูดไม่คล่องของเด็กหญิง 3-4 เท่า ซึ่งลักษณะการพูดไม่คล่องของเด็กในวัยนี้เป็นการพูดไม่คล่องแบบ normal dysfluency เป็นช่วงที่เด็กกำลังพัฒนาภาษาและการพูด การพูดติดอ่างในช่วงนี้จะเป็นแบบชั่วคราวและหายเองได้ใน 6 เดือน

สาเหตุ

ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดของการพูดติดอ่าง แต่มีปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพูดติดอ่าง ได้แก่

- พันธุกรรม เด็กมากกว่า 70% ที่พูดติดอ่าง จะมีสมาชิกในครอบครัวเคยพูดติดอ่างมาก่อน

- ปัจจัยทางระบบประสาทและสมอง สมองส่วนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว รวมถึงบริเวณที่ชื่อ Wernicke’s area ทำงานมากกว่าปกติ หรือในเด็กที่ได้รับการบาดเจ็บของสมอง ทำให้อวัยวะที่เกี่ยวกับการพูดขาดการประสานงานกัน หรือมีระดับของการสื่อประสาทที่ชื่อว่า dopamine มากกว่าคนปกติ

- ปัจจัยด้านอารมณ์และจิตใจ นั่นคือ เด็กมีความเครียดหรือวิตกกังวล เช่น ย้ายบ้าน ย้ายโรงเรียน เป็นต้น

- ปัจจัยทางด้านพัฒนาการและการเรียนรู้ เด็กอาจถูกผู้ใหญ่เร่งรัดให้พูดเร็วเกินกว่าความพร้อมทางภาษาของเด็กหรือการเรียนรู้ที่ผิด

- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องของครอบครัว เช่น ดุด่าเมื่อเด็กพูดไม่คล่อง ทำให้เด็กไม่กล้าพูด

อาการ 

คนที่พูดติดอ่างจะมีอาการพูดไม่ทันความคิด พูดตะกุกตะกัก พูดไม่คล่อง ขาดความต่อเนื่องในการพูด มีการพูดซ้ำๆ มากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้นพู

@การพูดซ้ำ เช่น

 - พูดซ้ำเสียง เช่น “ป-ป-ป-ปาก”

- พูดซ้ำพยางค์ เช่น “แตง-แตง-แตง-แตงโม”

- พูดซ้ำคำ เช่น “พ่อ-พ่อ-พ่อ-ขอตังค์หน่อย”

- พูดซ้ำวลี เช่น “ไปกิน-ไปกิน-ไปกิน-ไปกินข้าว”
- พูดซ้ำประโยค เช่น “เสือวิ่ง-เสือวิ่ง-เสือวิ่งมา”

@ การพูดลากเสียง เช่น “ส____________หวัดดีครับ”

 @ หยุดพูดหรือพูดไม่ออกเป็นบางช่วง เช่น “ไป______บ้านยาย”

@ มีคำ “เอ้อ” “อ้า” แทรก

@ มีการตอบสนองต่อคำถามช้าหรือมีการลังเลที่จะพูด ผู้ที่พูดติดอ่างบางรายจะมีพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น หัวใจเต้นเร็ว, หายใจลำบาก, เหงื่อออกมาก, แกว่งแขน, กะพริบตาถี่ๆ ไม่สบตาคู่สนทนา

@ อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีความคับข้องใจ กลัว กังวล หรือมีความเครียด เมื่อต้องพูดต่อหน้าคนหมู่มาก หรือพูดโทรศัพท์ แต่เมื่อร้องเพลง กระซิบ อ่านออกเสียง

@ ผู้ที่ติดอ่างมักมีความวิตกกังวล หรือมีการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าตนเองจะพูดผิด

การวินิจฉัย

นักแก้ไขด้านการพูดจะซักประวัติ ตรวจร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะที่ใช้ในการพูด ตรวจหาความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะนั้นๆ และประเมิน

แนวทางแก้ไข

ผู้ที่จะช่วยเหลือเรื่องการพูดติดอ่างได้ดีที่สุดก็คือพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดู การแสดงออกของพ่อแม่ จะมีผลต่อความมั่นใจในการพูดของเด็ก โดยควร

- เป็นผู้ฟังที่ดี รอให้เด็กพูดจนจบ และไม่พูดแทรก

- เป็นแบบอย่างที่ดีในการพูด โดยพูดช้าๆ สั้นๆ ชัดเจน เมื่อพูดจบประโยคแล้ว ควรหยุดรอ 2-3 นาที แล้วค่อยเริ่มพูดประโยคใหม่

- ลดการตั้งคำถาม

- ให้เวลาและทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก

- ในขณะที่เด็กพูด ไม่แสดงสีหน้าท่าทางที่ทำให้เด็กไม่มั่นใจ เช่น จ้องหน้าหรือโมโห

- แสดงความรัก เอาใจใส่และเข้าใจ

- ไม่เปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดกับเด็กที่โตกว่าหรือเด็กที่ปกติอื่นๆ

- หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เด็กพูดติดอ่างมากขึ้น

ส่วนวัยผู้ใหญ่ การฝึกพูดจะช่วยให้ผู้ติดอ่างมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง ตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง ยอมรับว่าตนเองพูดติดอ่าง ไม่หลีกเลี่ยงสถานการณ์การพูด

หากสามารถแก้ปัญหาการพูดติดอ่างได้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ คุณก็จะเป็นคนที่มีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็นและสามารถพูดจาได้ปกติเหมือนคนทั่วไป