ข้อมูลจาก : ผศ.นพ.ชัยเจริญ ตันธเนศ ภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ภาพจาก : pixabay.คอม
หลาย ๆ ท่านคงเคยมีประสบการณ์ “เลือดออก” กันมาบ้างไม่มากก็น้อย
การเกิดเลือดออกที่เราเคยประสบมา อาจเป็นแบบเลือดออกชัดเจน ที่เห็นเลือดไหลเป็นหยด ๆ หรือในบางครั้งเลือดอาจจะไม่ได้ออกมาให้เห็นภายนอก แต่จะเป็นลักษณะเลือดที่ออกใต้ชั้นเยื่อบุและผิวหนัง
ในทางการแพทย์ เราแบ่งภาวะเลือดออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ได้แก่
1. ภาวะเลือดออกทางศัลยกรรม เป็นภาวะเลือดออกที่เกิดขึ้นอย่างสมเหตุสมผล เช่น ถูกมีด
บาดนิ้วก็จะมีเลือดออกที่แผลบริเวณนั้นอันเนื่องมาจากการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ หากแผลใหญ่มาก มีเลือดออกมาก ก็มักต้องอาศัยการรักษาโดยวิธีทางศัลยกรรมเข้าช่วย เช่น การเย็บซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
2. ภาวะเลือดออกผิดปกติ เป็นภาวะเลือดออกที่ดูไม่สมเหตุสมผล ภาวะนี้เกิดจากความผิด
ปกติของสมดุลระบบห้ามเลือดของร่างกาย ซึ่งโดยปกติแล้ว จะมีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้เกิดเลือดออกง่าย และช่วยห้ามเลือดเมื่อเกิดบาดแผล เมื่อระบบนี้เสียหน้าที่ไป ก็จะเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติขึ้นได้
ความรุนแรงของภาวะนี้ มีตั้งแต่ไม่มีอาการใด ๆ หรือในบางคนอาจจะรุนแรงมาก ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีความเสี่ยง เช่น ใช้ยากันเลือดแข็งตัวหรือแอสไพรินอยู่ หรือบางรายไม่ทราบมาก่อนว่า ตนมีปัญหาเลือดออกผิดปกติอยู่แล้วและไปทำหัตถการ เช่น ทำฟัน ก็อาจจะมีเลือดออกได้มากกว่าปกติ
เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก เราจึงควรทราบว่า ลักษณะอย่างไรที่ถือว่าเป็นภาวะเลือดออกผิดปกติ และควรต้องมาพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษา
ลักษณะเลือดออกผิดปกติที่สำคัญ ได้แก่
ผิวหนัง เช่น เลือดออกในเยื่อบุตาขาว จุดเลือดออก หรือพรายย้ำ จ้ำเลือดที่ผิวหนัง
หากสังเกตตนเองแล้วพบว่ามีลักษณะข้างต้น ก็อย่าเพิ่งตื่นตระหนก เพราะเลือดออกที่ท่านสังเกตพบ อาจจะไม่ใช่เลือดออกผิดปกติก็ได้ อย่างไรก็ตาม ควร หาเวลามาพบแพทย์ เพื่อค้นหาสาเหตุว่า เป็นเลือดออกผิดปกติจริงหรือไม่ และมีสาเหตุจากอะไร โดยซักถามประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด หากมีลักษณะที่สงสัยจริงๆ แพทย์จะให้ผู้ป่วยตรวจเพิ่มทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด เพื่อที่จะได้รักษาและป้องกันปัญหาแต่เนิ่นๆ