มารู้จักและช่วยเด็กสมาธิสั้นกันเถอะ | Pattaya City Hospital | โรงพยาบาลเมืองพัทยา เราพร้อมดูแลคุณ

Health Article

บทความเรื่องสุขภาพ

มารู้จักและช่วยเด็กสมาธิสั้นกันเถอะ

Date : 11 April 2017

ข้อมูลจาก : ผศ.นพ.ชาญวิทย์  พรนภดล หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่นภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ภาพจาก : pixabay.com

เมื่อโตขึ้นเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีโอกาสหายมั้ย?
เมื่อผ่านช่วงวัยรุ่น ประมาณ 30-50% ของเด็กสมาธิสั้นมีโอกาสหายจากโรคนี้ และสามารถเรียนหนังสือหรือทำงานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องรับประทานยา ส่วนใหญ่ของเด็กสมาธิสั้นจะยังคงมีความบกพร่องของสมาธิอยู่ในระดับหนึ่งถึงแม้ว่าเด็กดูเหมือนจะซนน้อยลง และมีความสามารถในการควบคุมตนเองดีขึ้น เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว บางคนหากสามารถปรับตัวและเลือกงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิมากนัก ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จและดำเนินชีวิตได้ตามปกติ บางคนอาจจะยังคงมีอาการของโรคสมาธิสั้นอยู่มาก ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการศึกษาต่อ การงาน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น เด็กสมาธิสั้นที่อาการยังไม่หายเมื่อโตขึ้นจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่อง
     
ผู้ใหญ่มีสิทธิที่จะเป็นโรคสมาธิสั้นได้มั้ย และจะมีลักษณะหรืออาการอะไรบ้าง?
ทำให้บุคคลในครอบครัว (โดยเฉพาะมารดา) เสียโอกาสในอาชีพการงาน เนื่องจากเสียเวลาไปกับการดูแลเด็กมาก
พ่อแม่ที่วิตกกังวล กลัวเรื่องการให้เด็กรับประทานยารักษาสมาธิสั้น มักจะมองแต่ผลเสียของการรักษาด้วยยาแต่เพียงด้านเดียว แต่ที่ถูกต้องพ่อแม่ควรคำนึงถึงผลเสียข้างต้นที่จะเกิดกับตัวเด็กหากเด็กไม่ได้รับการรักษาด้วยยาอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ การรักษาเด็กสมาธิสั้นให้มีอาการดีขึ้น มักจะช่วยให้สมาชิกอื่นๆในครอบครัวมีสุขภาพจิตดีขึ้นตามไปด้วย
โรคสมาธิสั้นไม่ใช่โรคที่เกิดเฉพาะกับเด็ก หรือพบได้เฉพาะในวัยเด็กเท่านั้น ปัจจุบันพบว่ามีผู้ใหญ่หลายๆคนที่มีปัญหานี้และทำให้ชีวิตไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
  
ลักษณะต่อไปนี้จะช่วยบ่งชี้ว่าท่านอาจเป็นโรคสมาธิสั้นและต้องการการรักษา
            1. มีประวัติบ่งชี้ถึงโรคสมาธิสั้นตั้งแต่อยู่ในวัยเด็ก เช่น ตอนเล็กๆมีพฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง ไม่ตั้งใจเรียน วอกแวกง่าย เรียนหนังสือไม่ดี ฯลฯ
            2. ใจร้อน โผงผาง
            3. อารมณ์ขึ้นลงเร็ว (โกรธง่ายหายเร็ว)
            4. หุนหัน พลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่คิดก่อนทำ
            5. ทนกับความเครียดหรือสิ่งที่ทำให้คับข้องใจได้น้อย
            6. วอกแวกง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิระหว่างการทำงาน
            7. รอคอยอะไรนานๆ ไม่ค่อยได้
            8. มักจะทำงานหลายๆชิ้นในเวลาเดียวกัน แต่มักจะทำไม่สำเร็จสักชิ้น
            9. ไม่รู้จักแบ่งเวลา ขาดความสามารถในการบริหารจัดการเวลาที่ดี
            10. ชอบผลัดวันประกันพรุ่ง
            11. นั่งอยู่นิ่งๆไม่ได้นาน ชอบเขย่าขาหรือลุกเดินบ่อยๆ
            12. เบื่อง่าย หรือต้องการสิ่งเร้าอยู่เสมอ
            13. ไม่มีระเบียบ บ้านรกรุงรัง 
            14. เปลี่ยนงานบ่อย เนื่องจากความผิดพลาดในการทำงานที่เกิดจากความสะเพร่า ไม่เอาใจใส่ 
            15. มาสาย ผิดนัด หรือลืมทำเรื่องสำคัญๆ อยู่เสมอ
            16. มีปัญหากับบุคคลรอบข้าง เช่น สามี ภรรยา ญาติพี่น้อง หัวหน้าหรือผู้ร่วมงานอยู่บ่อยๆ