ข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข
ภาพจาก : pixabay.com
รายงานในวารสารระบาดวิทยานานาชาติอ้างอิงผลวิจัยของ "ดร.ดาร์ฟินน์ แอนเน" นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกรุงลอนดอน เกี่ยวกับระบบเผาผลาญอาหารในร่างกาย ในกลุ่มตัวอย่าง 95 รายที่ชอบรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ เผยว่า "พวกเขาจะเสียชีวิตก่อนวัยอันควรน้อยลง คิดเป็นจำนวนประมาณ 7.8 ล้านคนต่อปี หากกินผักและผลไม้มากกว่า 10 ชนิดต่อวัน" ซึ่งจากการวิจัยลักษณะของผักและผลไม้กว่า 10 ชนิด โดยเฉพาะที่ให้พลังงานจำนวน 800 กรัมต่อวัน พบว่าแอปเปิลลูกขนาดกลางจะให้พลังงาน 182 กรัม
ทั้งนี้นักวิจัยคาดว่า ต้องรับประทานผักและผลไม้ให้ได้ 10 ชนิดต่อวันจะลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจลงได้ ร้อยละ 24, ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองลดลงร้อยละ 33, ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง 28% ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลดลง 13% โดยรวมแล้วการบริโภคผักและผลไม้ จะลดความเสี่ยงทุกโรคที่กล่าวมา ลงได้ถึงร้อยละ 31 ถ้าเทียบกับการไม่กินผักและผลไม้อะไรเลย
สำหรับผลไม้และผักที่ช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจหากบริโภคบ่อยๆ ได้แก่ แอปเปิล ส้ม และผักโขม ส่วน "ผักตระกูลกะหล่ำ" เช่น บร็อกโคลี กะหล่ำปลี พริกไทย และถั่วเขียว จะช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
นักวิจัยระบุว่า "ผักและผลไม้จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต เสริมสร้างหลอดเลือดให้แข็งแรง และสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ประกอบกับในผักและผลไม้มีกากใยและสารอาหารที่ซับซ้อนอยู่ภายใน หรืออธิบายได้ว่ากลุ่มอาหารดังกล่าวประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมาก จึงช่วยซ่อมแซม DNA ในร่างกายที่เสื่อมลง จากสิ่งแวดล้อมหรืออายุที่เพิ่มมากขึ้นให้กับมาแข็งแรงได้"