สาเหตุและอาการของโรค สาเหตุโรคลมแดด หรือลมร้อน เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป เหงื่อไม่สามารถ ระเหยและพาความร้อนออกจากร่างกายได้จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อาการของโรคลมแดด หรือลมร้อน มี 2 แบบ คือ
1) แบบอ่อนๆ เช่น เวลาอยู่กลางแดดนานๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด เป็นลม แต่ยัง รู้สึกตัวอยู่ ซึ่งหากนั่งพักในที่ร่ม อากาศถ่ายเท หรือห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ดื่มน้ำเย็นหรือเช็ดตัว อาการก็จะดีขึ้น
2) แบบรุนแรง ผู้ป่วยจะมีตัวร้อนจัด เหงื่อไม่ออก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เป็นลม ซึ่งใน บางรายอาจถึงแก่ชีวิตได้ โดยอาการแบบรุนแรงนี้อาจจะเริ่มจากอาการแบบอ่อนๆ แต่ไม่ได้รับการดูแลที่ดีจึงอาจท้าให้ หมดสติและเสียชีวิตได้ หรือบางครั้งอาจเกิดขึ้นเองโดยฉับพลัน
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นลมแดด หรือลมร้อน สำหรับประเทศไทย กลุ่มคนที่พบว่าเป็นโรคลมแดดหรือลมร้อน ส่วนใหญ่คือผู้ที่ต้องปฏิบัติงาน ท่ามกลางแสงแดดซึ่งในผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและอยู่ในวัยท้างานก็เป็นโรคนี้ได้ บุคคลที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้แก่ ทหารที่เข้ารับการฝึกโดยปราศจากการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมในการเผชิญสภาพอากาศร้อน รวมถึงบรรดานักกีฬา สมัครเล่น และผู้ที่ท้างานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น รวมทั้งผู้สูงอายุ เด็ก คนอดนอน คนดื่มสุราจัด และผู้ที่มีความดัน โลหิตสูง นอกจากนี้ผู้ที่ไม่ได้อยู่ท่ามกลางแสงแดด แต่อยู่ภายใต้ที่กำบังหรือภายในตัวอาคารบ้านเรือนที่มีสภาพอากาศ ร้อนอบอ้าวไม่มีอากาศถ่ายเทสามารถเป็นโรคลมแดด หรือ ลมร้อนได้เช่นกัน
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคลมแดด
1) หากพบผู้ที่บ่นว่าร้อน คลื่นไส้ เวียนศีรษะ มีเหงื่อออกผิดปกติ มีอาการงง พูดช้าลง เลอะเลือน การเคลื่อนไหวช้าลง โซเซ ควรพาผู้ป่วยไปพักที่ร่มทันที ให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ
2) ให้นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ปลดเสื้อผ้าชั้นนอกออกถ้าท้าได้
3) ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น เช็ดตัวให้ผู้ป่วยประคบตามซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ ไม่ควรใช้ผ้าเปียกคลุมตัว เพราะจะขัดขวาง การระเหยของน้ำออกจากร่างกาย ช่วง 15 นาทีหลังการปฐมพยาบาลผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น
4) ควรรีบน้าตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล โดยควรหาพาหนะที่ผู้ป่วยสามารถนอนได้และมี เครื่องปรับอากาศ จัดท่านอนของผู้ป่วยให้เท้ายกสูงขึ้นกว่าศีรษะ เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ หากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวให้จับ นอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง ระวังอย่าให้มีอะไรอยู่ในปากและอย่าให้ผู้ป่วยจิบน้ำ ซึ่งหากไม่มีรถที่ผู้ป่วยสามารถนอน ไปได้ ควรเรียกรถพยาบาลเพราะการนั่งตัวตรงอาจท้าให้เลือดไม่ไปเลี้ยงสมองของผู้ป่วยได้
การป้องกัน ดูแลตนเองเมื่อต้องอยู่ท่ามกลางแดด
1) หากรู้ว่าตนเองจะต้องออกไปอยู่กลางแดดก็ควรเตรียมตัวโดยการออกกำลังกายกลางแจ้ง อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายชินกับสภาพอากาศร้อน
2) ควรดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้าน หากอยู่ในสภาพอากาศร้อน ดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้ท้างานในร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
3) สวมเสื้อผ้าที่มีเนื้ออ่อน ไม่หนา และระบายความร้อนได้
4) หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนได้
5) หากอยู่ท่ามกลางแสงแดดแล้วรู้สึกตัวว่ามีอาการเหงื่อออกมาก เวียนศีรษะ ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ควรรีบหลบเข้าไปอยู่ในที่ร่มทันที แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันตนเอง
6) หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาเสพติดทุกชนิด
7) เด็กเล็ก และคนชราควรได้รับการดูแล โดยจัดให้อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทได้ดีอย่าปล่อยให้ อยู่ในที่ปิดทึบตามลำพัง