การเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง STOP SMOKING | Pattaya City Hospital | โรงพยาบาลเมืองพัทยา เราพร้อมดูแลคุณ

บทความเรื่องสุขภาพ

Health Article

การเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง STOP SMOKING

Date : 15 August 2017

ข้อมูลจาก : ผศ.นพ. สนทรรศ บุษราทิจ สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์ทั่วไป คลินิกเลิกบุหรี่ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสป่วยเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ หรือ โรคถุงลมโป่งพอง มากกว่าคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ นอกจากอันตรายที่เกิดกับผู้ที่สูบบุหรี่โดยตรงแล้ว ผู้ที่ไม่ได้สูบแต่ได้รับควันบุหรี่ก็มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคเหล่านี้เพิ่มขึ้นด้วย

เลิกบุหรี่ด้วยตนเองทำอย่างไร
1. หาเหตุผลใหต้ นเองว่า เลิกบุหรี่เพราะอะไร

บุหรี่เป็นสารเสพติดที่เลิกได้ยากมากชนิดหนึ่งดังนั้นผู้ที่จะเลิกบุหรี่ได้สำเร็จส่วนใหญ่ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเลิก วิธีหนึ่งที่จะสร้างควา มมุ่งมั่นได้ คือ การหาเหตุผลให้ตนเองว่าทำไมถึงต้องเลิกบุหรี่ เช่น เหตุผลด้านสุขภาพทั้งของตนเอง หรือ สมาชิกอื่นในครอบครัว เช่น ภรรยา ลูก หรือ หลาน หรือ เหตุผลด้านการเงิน

2. กำหนดวันที่จะเลิกให้ชัดเจน
เมื่อตัดสินใจที่จะเลิกบุหรี่แล้ว ควรกำหนดวันที่จะเลิกสูบให้ชัดเจน โดยจะกำหนดวันใดก็ได้เป็นวันเริ่มต้นเลิกสูบบุหรี่ แต่ควรเริ่มภายใน2 สัปดาห์ ถ้าใกล้วันสำคัญ เช่น วันปีใหม่ วันเกิด อาจใช้วันเหล่านี้เป็นวันเริ่มต้นของการเลิกสูบบุหรี่ได้

3. บอกคนรอบข้าง เช่น คนในครอบครัว เพื่อนหรือ ผู้ร่วมงานให้ทราบว่าเราได้ตัดสินใจที่จะเลิกบุหรี่
การที่คนอื่นทราบว่าเรากำลังพยายามเลิกสูบบุหรี่คนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะคอยเป็นกำลังใจหรือเตือนเราเมื่อเราจะสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังทำให้เราไมค่อยกล้า สูบต่อหน้าคนเหล่านี้

4. ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์เกี่ยวกับการสูบบุหรี่
ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ เช่น ที่เขี่ยบุหรี่ หรือ ไฟแชค โดยคืนก่อนวันเริ่มต้นเลิกบุหรี่ให้ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ต่างๆให้หมด เพราะถ้าไม่มีบุหรี่เราก็ไม่สามารถสูบบุหรี่ได้นอกจากนี้ ถ้ามีการซื้อบุหรี่และนึกได้ให้ทิ้งบุหรี่ที่เหลือทั้งหมด ไม่ให้เก็บไว้สูบต่อ

5. ใช้หมากฝรั่งเลิกบุหรี่ (nicotine gum) หรือแผ่นแปะ (nicotine patch)
ระหว่างเลิกบุหรี่อาจมีอาการอยากบุหรี่ บางคนมีอารมณ์หงุดหงิด กระวนกระวายร่วมด้วย การใช้หมากฝรั่งเลิกบุหรี่หรือแผ่นแปะเลิกบุหรี่นี้สามารถช่วยลดอาการต่าง ๆ จากการเลิกบุหรี่ได้

6. ห้ามท้อแท้
ผู้ที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จส่วนใหญ่ไม่ได้เลิกได้สำเร็จในการพยายามเลิกครั้งแรก หลายคนต้องพยายามหลายครั้งถึงจะเลิกได้สำเร็จ ดังนั้นถ้าเราเลิกไม่ได้ในครั้งแรกอย่าท้อแท้ให้เริ่มต้นใหม่
7. ถ้าพยายามแล้วแต่ไม่สำเร็จให้ปรึกษาแพทย์หรือ คลินิกเลิกบุหรี่ เพื่อรับการช่วยเหลือเพิ่มเติม
8. ไม่ควรใช้บุหรี่ไฟฟ้าในการเลิกบุหรี่
ไม่ควรใช้บุหรี่ไฟฟ้าในการเลิกบุหรี่ เพราะบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ปลอดภัย การที่ร่างกายได้รับนิโคตินปริมาณสูง ๆ อาจเป็นอันตรายได้ และมีรายงานว่ามีผู้ที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้น้ำยาที่ใช้สำหรับบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อโดนความร้อนแล้ว จะมีปฏิกิริยาทำให้เปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งจะทำอันตรายให้กับผู้สูบได้