ข้อมูลจาก : ศ.นพ.ประเสริฐ อัสสัตชัย ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ภาพจาก : pixabay.com
เป็นโรคที่พบได้ในผู้สูงอายุทุกคน สาเหตุที่สำคัญอันหนึ่งคือ การทำงานของฮอร์ โมนที่ลดลงในผู้สูงอายุ ทำให้การเคลื่อนไหวลดลง แต่ผู้สูงอายุส่วนน้อยเท่านั้นที่มี อาการ เช่น ปวดหลัง หลังค่อม ทำให้ความสูงลดลง จนถึงกระดูกหักง่าย แม้มีอุบัติเหตุ เพียงเล็กน้อย เช่น หกล้มก็ตาม
สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน
1. การไม่ได้รับแคลเซียมที่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่ม สาว ซึ่งเป็นช่วงที่ควรสร้างความหนาแน่นของกระดูกมากที่สุด
2. สาเหตุจากรรมพันธุ์ ซึ่งควรจะพิจารณาถึงบุคคลในครอบครัว เช่น ปู่ ยา ตา ยาย ถ้าท่านเหล่านั้นมีอาการของโรคกระดูกพรุนอย่างชัดเจน โอกาสที่บุตรหลานจะมีอาการ เช่นกันนั้นสูงถึง 80% ส่วน 20% ที่เหลือนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย
3. ยาอาจเกิดจากการใช้ยาสำหรับโรคบางอย่างที่นำสู่การลดความหนาแน่นของ กระดูก เช่น ออร์ติโซน สำหรับโรคไขข้ออักเสบ, โรคหืด, ยาเฮปาริน สำหรับโรคหัวใจ และความดันโลหิต การรักษาโดยการฉายรังสี หรือการให้สารเคมีก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่มีการทำลายเซลล์กระดูก ซึ่งนำไปสู่โรคกระดูกพรุน
4. กายภาพ การสูบบุหรี่ การดื่มสุราเป็นประจำ จะลดประสิทธิภาพการดูดซึม ธาตุแคลเซียม ใน ร่างกาย ทำให้กระดูกเสื่อมและหดลงเร็ว
5. คาเฟอีน การดื่มกาแฟมาก ๆ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเช่น โค้ก, ชา เป็นต้น ก็ทำให้กระดูกเสื่อมง่ายขึ้น
6. ฮอร์โมน การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนของหญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้ ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูก พรุนเพิ่มขึ้น
7. อาหารที่มีแคเชี่ยมต่ำ การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำในวัยชรา และใน คู่สามีภรรยา จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรค กระดูกพรุนเพิ่มขึ้น
8. การสูญเสียแคลเซียม ผ่านทางผิวหนัง ปัสสาวะและอุจจาระ ควรจะทดแทนการ สูญเสียเหล่านั้น เพื่อรักษาระดับแคลเซียมในกระดูก
9. การไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย เมื่อวัยชราโรคกระดูดพรุนเกิดขึ้นรุนแรง ถ้าขาดการออกกำลังกาย และการสูญเสียความแข็งแรงของกระดูก มักเกิดขึ้นในช่วง ที่ไม่ได้เคลื่อนไหว เช่น ในขณะนั่งรถเข็น หรือนอนพักฟื้น
10. ขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดีมีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ในบ้านเรามักจะไม่มี ปัญหาการขาดวิตามีนดี เนื่องจากมีแสงแดดตลอดปี
การป้องกัน
1. ออกกำลังกายเป็นกิจวัตร โดยเฉพาะกลางแจ้งตอนที่มีแดดอ่อน เช่น เวลาเช้า หรือเย็น
2. เมื่อมีความเจ็บป่วยไม่ว่าจากสาเหตุใด ควรรีบทำกายภาพบำบัด หรือเคลื่อน ไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เร็วที่สุดเท่าที่สภาพร่างกายจะเอื้ออำนวย
3. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลากระป๋อง ซึ่งสามารถรับประทาน กระดูกปลาได้ หรือดื่มนมพร่องไขมันเนย ผักผลไม้ เป็นต้น
4. งดการดื่มสุรา และสูบบุหรี่
5. ไม่ควรซื้อยารับประทาน เช่น ยาลูกกลอน เพราะมักจะมีสารเสตียรอยด์ผสมอยู่ ทำให้กระดูกพรุนได้โดยไม่รู้ตัว