"อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ" นั้นเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่อย่านิ่งนอนใจ ถ้าหากคุณมีอาการมากผิดปกติ นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย
วันนี้เรามารู้สาเหตุเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเหล่านั้น และวิธีดูแลตัวเอง เพื่อกันตัวเองออกจากร้ายและมีสุขภาพกายที่แข็งแรง
รู้จักโรคนี้ให้ดีกว่าเดิม
ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรืออาหารไม่ย่อย (dyspepsia) เป็นอาการผิดปกติของ ท้องหรือลำไส้ มักมีอาการบริเวณตรงกลางของท้องด้านบน อยู่ระหว่างใต้ลิ้นปี่และเหนือสะดือ อาการของโรค เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง มีการบีบรัดของลำไส้ ท้องหลาม ตึงๆ อืดๆ มีลม หรือมีแก๊สในกระเพาะอาหาร เรอเหม็นเปรี้ยว และอาจมีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกเหนือลิ้นปี่ และบางรายอาจมีคลื่นไส้ อาเจียน อิ่มเร็วร่วมด้วย
สาเหตุ
1. อาหารที่มีไขมันสูง เช่น แกงกะทิ ช็อกโกแลต เนย และนม (คนฝั่งเอเชียมักไม่ค่อยคุ้นชินกับนม เมื่อดื่มอาจเกิดอาการท้องอืดได้) อาหารรสจัด ทั้งเปรี้ยวจัด หรือเผ็ดจัด และ อาหารย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์
2. พฤติกรรมการกิน เช่น เร่งรีบกินอาหาร เคี้ยวไม่ละเอียด กินอาหารผิดเวลา กินอาหารจนอิ่มมากเกินไป หรือการนอนหลังจากกินอาหารเสร็จใหม่ๆ ทั้งนี้รวมไปถึงการ “ กินลม “ ด้วย ซึ่งได้แก่ การพูดมากๆ (ลมเข้าปาก) การเคี้ยวหมากฝรั่ง การดูดลูกอมหรืออมยิ้ม การดูดนม ของเหลว หรือน้ำผ่านหลอดเล็กๆ การดื่มน้ำจากขวดปากแคบ สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้กระเพาะอาหารมีลม หรือแก๊สมากขึ้นจนทำให้ท้องอืดตามมาได้
3. โรคของระบบทางเดินอาหาร เช่น แผลกระเพาะอาหาร กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้าไปในหลอดอาหาร (Gastro-esophageal Reflux Disease- GERD) กระเพาะอาหารอักเสบ มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือ นิ่วถุงน้ำดี
4. ยา ประเภทยาลดการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti- inflammatory Drugs-NSAIDs) ที่ใช้บรรเทาอาการอักเสบตามข้อ หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่น แอสไพริน ไดโคลฟีแนก ไพร็อกซีแคม นาโพรซิน และ อินโดเมทาซิน ซึ่งยากลุ่มนี้มีคุณสมบัติเป็นกรด ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร อาจเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ได้ แล้วถ้าใช้ติดต่อกันนานๆ อาจทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผล
5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มน้ำอัดลม
6. บุหรี่
วิธีการดูแลตัวเองจากโรคท้องอืด
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินใหม่หมด พยายามกินให้ตรงเวลา กินช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด และไขมันสูง อย่ากินอาหารอิ่มจนเกินไป และหลังกินอาหารอิ่มใหม่ๆ ไม่ควรนอนราบทันที เพราะการนอนราบอาจทำให้กรดไหลจากกระเพาะอาหารย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหารได้ หรือ ที่เรียกว่า โรคกรดไหลย้อน ส่วนเรื่อง การกินลม ก็แค่เปลี่ยนมาเทใส่แก้วแทน การดื่มจากหลอด หรือ ขวด
2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ น้ำอัดลม โซดา
3. หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่ม NSAIDs (เอ็นเสด) ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ถ้าจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้ ควรปรึกษาแพทย์
4. ออกกำลังกาย ผ่อนคลายความตึงเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ
5. ใช้ยาขับลม เช่น ยาธาตุน้ำแดง ยาธาตุน้ำขาว หรือไม่ก็ยาหอม
สมุนไพรไทย หลายชนิดนำมาแก้อาการท้องอืดได้ แต่ถ้าฝืนใจกินสดๆ ไม่ไหว สามารถทานเมนูเหล่านี้ได้เลย ไม่ว่าจะเป็น เมี่ยงคำ บัวลอยน้ำขิง น้ำพริกกุ้งสด ทานคู่กับ ขมิ้นชัน โจ๊ก ใส่ขิง และโรยผักชี พร้อมใส่พริกไทยเยอะๆ ผัดกระเพรา หรือ เครื่องดื่มอุ่นๆอย่างน้ำเต้าหู้ ผสมธัญพืช
ข้อสำคัญอย่านิ่งนอนใจ
ส่วนใหญ่ถ้ามีอาการท้องอืดไม่มาก สามารถหายเองได้ แต่ถ้ามีสิ่งผิดปกติเหล่านี้ร่วมด้วย ปล่อยไว้ไม่ได้เด็ดขาดต้องรีบไปพบคุณหมอด่วน เพราะนี่อาจเป็นอาการเริ่มต้นของ แผลในกระเพาะอาหาร นิ่วถุงน้ำดี โรคลำไส้แปรปรวน หรือ มะเร็งกระเพาะอาหาร ได้ อาการที่ว่าเหล่านั้น คือ
มีอาการท้องอืดติดต่อกันนานๆ