คนไทยเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาปีละ 38,000 คน ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 40,000 ล้านบาท ถือเป็นสถานการณ์ที่น่าวิตกมากสำหรับประเทศไทย โดย ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ระบุว่า จากงานวิจัยประมาณการณ์ว่า มีคนไทยตายเฉลี่ยจากเชื้อดื้อยาวันละประมาณ 100 คน สูงกว่าตัวเลขเฉลี่ยทั่วโลก!!
เชื้อดื้อยาที่กล่าวถึงนั้น หมายถึง "เชื้อแบคทีเรีย" การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียนั้นเกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านแบคทีเรียมากจนเกินไป ทำให้เชื้อแบคทีเรียมีการปรับตัวและพัฒนาตัวเองขึ้นจนกลายเป็น Super Bug ที่ดื้อต่อยาและหายารักษาได้ยาก จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตจากการติดเชื้อในที่สุด
แล้วคนไทยได้รับเชื้อดื้อยาผ่านทางไหนบ้าง
ภญ.นิยดา อธิบายว่า คนไทยได้รับเชื้อดื้อยาจาก
1. การกินยาต้านแบคทีเรียพร่ำเพรื่อโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะเมื่อมีอาการหวัดเจ็บคอ ท้องเสีย หรือมีบาดแผลเล็กน้อย ซึ่งไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แต่เมื่อกินยาต้านแบคทีเรียเข้าไปเลิกขอ จึงทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยาพัมนาขึ้นในร่างกาย และคนที่มีเชือ้ดื้อยาในร่างกายก็จะเป็นคนแพร่เชื้อแบคทีเรียดื้อยานี้ให้แก่ลบุคคลอื่นผ่านการไอ จาม สัมผัส กระจายไปถึงในชุมชน นอกจากนี้ หากป่วยและเข้าโรงพยาบาลก็ยังสามารถแพร่เชื้อดื้อยานี้ให้แก่คนในโรงพยาบาลทั้งแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยอื่นๆ ได้อีกด้วย
2. ฟาร์มปศุสัตว์มีการใช้ยาต้านแบคทีเรียมมากกว่าที่จำเป็น โดยไม่ได้ปรึกษาสัตวแพทย์ นอกจากนี้ ยังพบว่าบางแห่งมีการผสมยาให้สัตว์เพื่อเร่งการเติบโต โดยมีงานวิจัยหลายตัวที่ระบุชัดเจนว่าการใช้ยาต้านแบคทีเรียทำให้อ้วนขึ้นทัะงในคนและสัตว์ จึงมีการนำยานี้มาใช้เพื่อให้สัตว์โตเร็ว ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย ทำให้เกิดการเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในสัตว์ และคนที่ทำงานในฟาร์มก็จะได้รับแบคทีเรียดื้อยานี้และนำไปแพร่ให้กับคนอื่นๆ ต่อไป
3. สิ่งปฏิกูลจากฟาร์มปศุสัตว์ที่ใช้มีเชื้อแบคทีเรียดื้อยา เมื่อถูกทิ้งหรือนำไปใช้เป็นปุ๋ย ก็จะเป็นการส่งต่อยีนของเชื้อแบคทีเรียดื้อยาผ่านดิน และแหล่งน้ำไปสู่พืชผัก ที่จะถูกนำไปใช้เป็นอาหารที่เรารับประทาน รวมไปถึงการใช้ยาปฏิชีวนะในการทำสวนผลไม้ เช่น ส้ม มะนาว ก็จะทำให้ตัวยาลงสู่ธรรมชาติก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาได้เช่นกัน
จะเห็นได้ว่าคนไทยมีโอกาสได้รับเชื้อแบคทีเรียดื้อยาได้จากหลายแหล่ง การแก้ปัญหาจึงต้องร่วมกันแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น ในการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะให้เป็นไปอย่างสมเหตุสมผล รวมไปถึงกลุ่มวิชาชีพแพทย์ หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไปก็ต้องช่วยกันแก้ปัญหาในเรื่องนี้ โดยต้องตระหนักและมีความเข้าใจในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลด้วย
รศ.พญ.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ กุมารแพทย์สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า เมื่อป่วยแล้วให้รักษาตามอาการ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่พ่อแม่มักให้ยาปฏิชีวนะแก่ลูกโดยไม่จำเป็น ที่พบมากคืออาการหวัดเจ็บคอ ท้องเสีย และมีบาดแผล ซึ่งไม่จำเป็นเลย เพราะส่วนใหญ่ 100% อาการเลิกขอ ป่วยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เพราะร่างกายมนุษย์มีจุลินทรีย์เพื่อชีวิต ซึ่งถือเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดีมีประโยชน์ในร่างกายมากกว่าเซลล์ในร่างกายทั้งหมดเสียอีก ซึ่งมีการตีพิมพ์งานวิจัยในนิตยสารด้านการแพทย์ของต่างประเทศ โดยพบว่าร่างกายมนุษย์มีเซลล์มนุษย์เพียง 1% ที่เหลืออีก 99% ล้วนแต่เป็นเซลล์แบคทีเรียที่มีประโยชน์ทั้งสิ้น ดังนั้น การป่วย มีไข้ ส่วนใหญ่จึงเกิดจากเชื้อไวรัสที่เข้ามาก่อกวนระบบนิเวศของแบคทีเรียในร่างกาย จึงมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนภายหลังมากกว่า
"การรักษาตามอาการอาจให้ยาแก้ไอเมื่อไอมากจนนอนไม่ได้ หรือใช้สมุนไพรในบ้านรักษาอาการ หรือล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ หรือเช็ดตัวลดไข้ เป็นต้น นอกจากนี้ การไปพบแพทย์ต้องเลิกนิสัยขอยาปฏิชีวนะ เพราะไม่มีความจำเป็น ตรงนี้ก็จะช่วยได้ และเป็นการลดการกดดันแพทย์ที่ต้องจ่ายยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วย เพราะในปัจจุบันที่เป็นยุคบริโภคนิยม แพทย์เองก็กังวลเรื่องรักษาไม่หาย ก็สั่งยากันไว้ก่อน ทั้งที่รู้ว่าเกิดจากเชื้อไวรัส แต่ก็อาจมี 1 ใน 4,000 ที่อาจมีอาการแบคทีเรียแทรกซ้อน ตรงนี้จึงอยากให้รอให้ผลชัดเจนก่อนจะดีหรือไม่ว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียจริงจึงค่อยสั่งใช้ยา เพราะผลเสียที่ตามมาเพื่อป้องกันเพียงคนๆ เดียวนั้นไม่คุ้มกัน "
สำหรับการใช้ยาปฏิชีวนะนั้น รศ.พญ.วารุณี ระบุว่า ต้องใช้ยามมีข้อบ่งชี้จริงๆ ว่าต้องใช้ แต่หากมีอาการป่วยรุนแรงคล้ายป่วยด้วยเชื้อแบคทีเรีย ถึง 3 ใน 4 อาการ ก็อาจให้ได้ แต่หากผลตรวจเชื้อออกมาแล้วพบว่าไม่ได้ป่วยด้วยเชื้อแบคทีเรีย ต้องหยุดให้ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านแบคทีเรียทันที
อย่างไรก็ตาม แม้จะระมัดระวังการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านแบคทีเรียเป็นอย่างดี ใช้อย่างสมเหตุสมผล หรือเลิกขอการใช้ยาปฏิชีวนะแล้วก็ตาม แต่คนไทยก็มีโอกาสได้รับการยัดเยียดการใช้ยาปฏิชีวนะผ่านจากบุคคลอื่นที่มีเชื้อดื้อยา ผ่านจากภาคเกษตรกรรม ฟาร์มปศุสัตว์ที่มีการใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างไม่รับผิดชอบเช่นกัน ถึงเวลาที่หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องเข้ามาดูแลแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ก่อนที่คนไทยจะต้องตายจากเชื้อดื้อยาไปมากกว่านี้
ที่มา: MGR Online โดยสิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์