อารมณ์เครียดกับอารมณ์สบายส่งผลต่อสุขภาพต่างกันอย่างไร ท่านผู้ชม DMC ที่ต้องเผชิญกัปัญหาอยู่บ่อยๆ คงทราบกันดีอยู่แล้วใช่ไหมคะ ปัญหาในการทำงานทำให้เรารู้สึกเครียด และความเครียดมีผลต่อสุขภาพช่องปากด้วย
การนอนกัดฟัน เป็นอาการหนึ่งของผู้ที่มีความผิดปกติด้านการบดเคี้ยว หรือมีปัญหาการทำงานของขากรรไกร นอกจากจะมีปัญหากับคนที่นอนข้างๆ หรือเพื่อนร่วมห้องแล้ว การนอนกัดฟัน ยังก่อให้เกิดปัญหากับตัวเองด้วย ปัญหาดังกล่าวได้แก่ อาการฟันสึก ในบางรายมีอาการฟันสึกจนถึงชั้นเนื้อฟัน เห็นเนื้อฟันสีเหลืองเข้ม และมีอาการเสียวฟันเวลาที่ดื่มน้ำร้อน หรือ น้ำเย็น
นอกจากอาการฟันสึกแล้วยังมีอาการปวดที่บริเวณข้อต่อกระดูกขากรรไกร ซึ่งอยู่หน้ารูหู ในเวลาที่ตื่นนอนตอนเช้าจะรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณข้อต่อขากรรไกร หรือเวลาที่บดเคี้ยวอาหารก็จะรู้สึกเจ็บปวดได้
สาเหตุของการนอนกัดฟัน (Bruxism) น่าจะเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ
1. จากสภาพฟัน อาจมีจุดสูงที่อยู่บนตัวฟัน ที่อาจเกิดจากวัสดุอุดฟัน มีการเรียงกันของฟันที่ผิดปกติ ฟันซ้อนเก หรือเป็นโรคปริทันต์ หรือในคนไข้ที่สูญเสียฟันแท้ไป โดยที่ไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน ซึ่งถ้าว่าจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยธรรมชาติของคนเราจะพยายามกำจัดจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยพยายามบดเคี้ยวให้จุดสูงนั้นหมดไป มักจะเกิดในเวลาที่เรานอนหลับ ซึ่งเป็นเวลาที่เราไม่รู้สึกตัว
2. สภาพของจิตใจ การดำเนินชีวิตประจำวันอาจมีความเครียด เนื่องจากความเร่งรีบในการทำงานก็เป็นสาเหตุที่ให้เรานอนกัดฟันในเวลานอน โดยเราไม่รู้สึกตัวได้
วิธีการแก้ไขอาการนอนกัดฟัน
ไปพบทัตแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขอาการนอนกัดฟัน ได้แก่ การกรอปรับสบฟันให้อยู่ในสภาวะปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วทัตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ Spint หรือเฝือกสบฟัน เพื่อลดการสึกของฟัน Spint นั้น มีลักษณะเป็น อะครีลิคใส แข็ง ใสในฟันบน หรือฟันล่าง ใส่เฉพาะในเวลานอนตอนกลางคืนเท่านั้น และในเวลาที่เราใส่ Spint หรือเฝือกสบฟันนั้น ทันตแพทย์จะนัดมาตรวจเป็นระยะๆ
การป้องกันอาการนอนกัดฟัน
1. หมั่นรักษาสภาพช่องให้อยู่ในสภาพปกติ โดยหมั่นไปพบมันตแพทย์เพื่อตรวจฟันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
2. ส่วนสภาพจิตใจนั้น มีคำแนะนำว่า ก่อนนอนให้หลับตานั่งสมาธิ(Meditation) ทำจิตใจให้สงบ อาจช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาการนอนกัดฟันได้
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำเฝือกสบฟัน (เฝือกฟัน)
การทำเฝือกฟันนั้นเพื่อป้องกันอาการนอนกัดฟันนั้นไม่ยาก เพียงไปพบทันตแพทย์ ทันตแพทย์จะพิมพ์แบบและทำเฝือกฟันเฉพาะบุคคล ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับยางกันฟันของนักมวยหรือนักกีฬา
การใส่เฝือกฟันบนหรือฟันล่าง หรือทั้งสอง ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ ใส่นอนตอนกลางคืนชั่วระยะเวลาหนึ่งอาการจะดีขึ้น การทำเฝือกฟันไม่ยาก เพียงแค่ไปพบทันตแพทย์ ทันตแพทย์จะพิมพ์แบบ และทำเฝือกฟันเฉพาะบุคคลซึ่งมีลักษณะคล้ายกับยางกันฟันของนักมวยหรือนักกีฬา นั่นเอง
อาการ นอนกัดฟัน อาจมีสาเหตุมาจากยาที่รับประทานก็ได้ เช่น ยาที่เคยมีรายงานว่าทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้คือ แอมเฟตามีนที่ใช้ร่วมกับ L-dopa, ยาfenfluramine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของแอมเฟตามีน และมีรายงานว่า พบการนอนกัดฟันในผู้ป่วยที่เป็นโรค Tardive Dyskinesia ซึ่ง เชื่อว่าเป็นผลมาจากการใช้ยา phenothiazine เป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ จะสามารถทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้ ดังนั้น การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่มีประโยชน์แล้วยังทำให้เป็นโรคกัดฟันอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : กองทันตแพทย์ กรมแพทย์ทหารบก