สารพิษ ( Poisons)
สารพิษ หมายถึง สารเคมีที่มีสภาพเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายโดย การรับประทาน การฉีด การหายใจ หรือการสัมผัสทางผิวหนัง แล้วทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย ด้วยปฏิกิริยาทางเคมี อันตรายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติ ปริมาณ และทางที่ได้รับสารพิษนั้น
ชนิดของสารพิษ
สารพิษที่ทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์มาจากหลายแหล่งด้วยกัน อาจเป็นพิษจากสัตว์ เช่น งูพิษ ผึ้ง แมลงป่อง พิษจากพืช เช่น เห็ดพิษ ลำโพง พิษจากแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ตะกั่ว ฟอสฟอรัส สารหนู และ พิษจากสารสังเคราะห์ต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช ยาอันตราย รวมทั้งสารสังเคราะห์ที่ใช้ในครัวเรือนเช่น น้ำยาฟอกขาว น้ำยาขัดห้องน้ำ เป็นต้น
สารพิษสามารถจำแนกตามลักษณะการออกฤทธิ์ ได้ ๔ ชนิด ดังนี้
ชนิดกัดเนื้อ (Corrosive ) สารพิษชนิดนี้จะทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายไหม้ พอง ได้แก่ สารละลายพวก กรดและด่างเข้มข้น น้ำยาฟอกขาว
ชนิดทำให้ระคายเคือง (Irritants ) สารพิษชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อน และอาการอักเสบในระยะต่อมา ได้แก่ ฟอสฟอรัส สารหนู อาหารเป็นพิษ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ชนิดที่กดระบบประสาท (Narcotics ) สารพิษชนิดนี้จะทำให้หมดสติ หลับลึก ปลุกไม่ตื่น ม่านตาหดเล็ก ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน พิษจากงูบางชนิด
ชนิดที่กระตุ้นระบบประสาท (Dililants) สารพิษชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่ง ใบหน้าและผิวหนังแดง ตื่นเต้นชีพจรเต้นเร็ว ช่องม่านตาขยายได้แก่ ยาอะโทรปีน ลำโพง
การประเมินภาวะการได้รับสารพิษ
การได้รับสารพิษ เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการปฐมพยาบาลที่รีบด่วน และเฉพาะเจาะจง ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ จะต้องประเมินจำแนกให้ได้ว่าอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยนั้น ว่าเกิดจากสารพิษใด นอกจากประเมินอาการแล้ว ยังจำเป็นต้องสังเกตสภาพการณ์ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยร่วมด้วย ดังนี้
สภาพการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่บ่งชี้ถึงภาวะการได้รับสารพิษ
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษ
จำแนกตามวีถีทางที่ได้รับ ๓ ทาง ดังนี้
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก
ผู้ช่วยเหลือต้องทำการประเมินผู้ที่ได้รับสารพิษก่อน แล้วจึงพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ ดังนี้
ข้อห้ามในการทำให้ ผู้ป่วยอาเจียน
๔. ให้สารดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร เพื่อลดปริมาณการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย สารที่ใช้ได้ผลดี คือ Activated charcoal มีลักษณะเป็นผงถ่านสีดำ ใช้ ๑ ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ ๑ แก้ว ให้ ผู้ป่วย ดื่ม ถ้าหาไม่ได้ อาจใช้ไข่ขาว ๓ - ๔ ฟอง ตีให้เข้ากันให้ ผู้ป่วยรับประทาน ซึ่งควรใช้ในกรณีดังต่อไปนี้
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารกัดเนื้อ (Corrosive substances )
กรด ด่าง เป็นสารเคมีที่พบในชีวิตประจำวัน นำมาใช้ในครัวเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม เช่น กรดซัลฟริก กรดไฮโดรคลอริก โซเดียมคาร์บอเนต
อาการและอาการแสดง
ไหม้พอง ร้อนบริเวณริมฝีปาก ปาก ลำคอและท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ และมีอาการภาวะช็อค ได้แก่ ชีพจรเบา ผิวหนังเย็นชื้น
การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพวกน้ำมันปิโตเลียม
เป็นผลิตภัณฑ์ที่พบได้ทั้งในบ้านและโรงงานอุตสาหกรรม สารพวกนี้ได้แก่ น้ำมันก๊าด เบนซิน ยาฆ่าแมลงชนิดน้ำมัน เช่น DTT.
อาการและอาการแสดง
แสบร้อนบริเวณปาก คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาจสำลักเข้าไปในปอดทำให้หายใจออกมามีกลิ่นน้ำมัน หรือมีกลิ่นน้ำมันปิโตเลี่ยม อัตราการหายใจและชีพจรเพิ่ม อาจมีอาการขาด ออกิเจน ซึ่งอาจรุนแรงมากมีเขียวตามปลายมือ ปลายเท้า ( Cyanosis )
การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับ ยาแก้ปวด ลดไข้
ยาแอสไพริน และพาราเซตามอล พบบ่อย ในเด็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และผู้ที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ
อาการและอาการแสดง ของผู้ที่ได้รับ ยาแอสไพริน
หูอื้อ เหมือนมีเสียงกระดิ่งในในหู การได้ยินลดลง เหงื่อออกมาก ปลายมือปลายเท้าแดง ชีพจรเร็ว คลื่นไส้อาเจียน หายใจเร็ว ใจสั่น
อาการและอาการแสดง ของผู้ที่ได้รับ ยาพาราเซตามอล ( ไทรีนอล )
ยานี้จะถูกดูดซึมเร็วมาก โดยเฉพาะในรูปของสารละลาย ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตต่ำ สับสน เบื่ออาหาร
การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางการหายใจ
สารพิษที่เข้าสู่ทางการหายใจ ได้แก่ ก๊าซพิษ ซึ่ง แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางผิวหนัง
สารพิษที่สามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่พบบ่อยเกิดได้แก่ สารเคมี และสารพิษที่เกิดจากการถูกสัตว์มีพิษกัดหรือต่อย เช่น ต่อ แตน ผึ้ง ตะขาบ แมงป่อง แมงกะพรุนไฟ งูพิษ
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีถูกผิวหนัง
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา
ที่มา : กรมแพทย์ทหารเรือ