ก่อนที่จะก้าวเข้าวัยสูงอายุ คนรอบข้างไม่ว่าจะเป็น ลูกๆ หลานๆ หรือแม่แต่กระทั่งผู้สูงอายุเองควรจะรับมือกับอารมณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง และเตรียมตัวเข้าสู่วัยสุงอายุอย่างมีความสุข ทางศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้รวบรวมความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุมาเผยแพร่ และให้ความสำคัญด้านสุขภาวะของผู้สูงอายุอีกด้วย
เช็คอารมณ์ผู้สูงอายุ
ด้วยอายุร่างกายที่ค่อยๆ เสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ดังนั้นเรามาสำรวจอารมณ์ของผู้สูงอายุ และทำความเข้าใจกับสาเหตุของอารมณ์นั้นๆ
1.อารมณ์เหงาและว้าเหว่ : คนวัยนี้มีเวลาว่างจากอาชีพการงานที่เคยทำ นอกจากนี้ยังมีภาวะร่างกายเสื่อม เช่น สายตาไม่ดี หูไม่ดี กิจกรรมที่ทำจึงมีข้อจำกัด อารมณ์เหงาของผู้สูงอายุมักมีอารมณ์อื่นร่วมด้วย เช่น ซึมเศร้า เบื่ออาหาร โรคภัยไข้เจ็บ
2. ย้อนคิดถึงความหลัง : ผู้สูงอายุมักคิดอะไรเงียบๆ บอกเล่าความหลังให้คนอื่นฟัง รวมทั้งกลับไปยังสถานที่ที่คุ้นเคย เพราะการย้อนอดีตนั้นเป็นการทบทวนการกระทำที่ผ่านมาว่าได้ทำสิ่งๆ นั้นดีแล้วหรือยัง
3.อารมณ์เศร้าจากการพลัดพราก : การสูญเสียคนที่รักมักจะมีอารมณ์ด้านลบเข้ามาประกอบด้วยเสมอ เช่น ว้าเหว่ เลื่อนลอย หลงลืม และปล่อยให้ตัวเองอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นนานๆ จนบางทีผู้สูงอายุอาจจะทรุดลงได้
4. วิตกกังวล : ความรู้สึกที่ต้องพึ่งลูกหลาน ทำให้ผู้สูงวัยขาดความมั่นใจ ขาดความสารถ กลัวต่างๆ นาๆ และกลัวการไม่ได้รับการเอาใจใส่ ทำให้ อ่อนแรง ไร้เรี่ยวแรง รวมถึงเบื่ออาหารด้วย
5.โกรธ : ผู้สูงอายุจะมีความรู้สึกโกรธ เมื่อมีความขัดแย้งและลูกหลานไม่ยอมรับความคิดเห็น
6. กลัวถูกทอดทิ้ง : เนื่องจากช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง ทำสิ่งที่เคยทำอย่างคล่องแคล่วได้ลำบากขึ้น จึงมักกลัวการพึ่งลูกหลานมากเกินไป จนเกิดความรำคาญและทอดทิ้งตน
7.ขี้น้อยใจ : คิดว่าตัวเองไร้ค่าและลูกหลานไม่ใส่ใจ
8.หงุดหงิด : เนื่องจากความเสือมของร่างกาย ทำให้ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง ใครทำอะไรก็ไม่ถูกใจ เลยมักจู้จี้ขี้บ่น
8 หนทางสู่การเป็น ‘ผู้สูงอายุ’ ที่มีความสุข
1.ผู้สูงอายุควรรู้จักโอนอ่อนผ่อนตามความเห็นของลูกหลาน มีความคิดที่ยืดหยุ่นว่าจะอยู่กับคนในครอบครัวอย่างไรและเกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด
2.ผู้สูงอายุทำใจตระหนักได้ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นเรื่องธรรมดา
3.ควรมองชีวิตตนเองในทางที่ดี ภูมิใจที่เป็นที่พึ่งพิงให้แก่ผู้อ่อนวัย
4. เมื่อมีความกังวลต่างๆ ควรปรึกษาพูดคุยกับใคนใกล้ชิด เพื่อได้ระบายอารมณ์ความรู้สึก
5.พยายามหากิจหรรมหรืองานอดิเรกที่ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน และมีคุณค่าทางจิตใจ
6.เข้าสังคมพบปะสังสรรค์กับผู้อื่นเพื่อพูดคุยปรับทุกข์
7.ยึดศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ เช่น สวดมนต์ เข้าวัด
8.หมั่นทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ ไม่เครียด ไม่จู้จี้
9 หนทางสู่การเป็น ‘ผู้ดูแลผู้สูงอายุ’ ที่มีความสุข
1.ต้องปรับตนเอง ด้วยการปรับใจปรับความคิด ยอมรับการเปลียนเปลงที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
2.ปรับกิจวัตรประจำวันของตนให้เหมาะกับผู้สูงอายุ
3.เอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุด้วยความรัก เช่น การไปเยี่ยมบ่อยๆ การโอบกอด หรือรับฟัง
4.ให้เกียรติรวมถึงให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ เช่น คอยถามไถ่เรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่
5.ให้ผู้สูงอายุช่วยอบรมลูกหลาน หรือดูแลกิจการในลบ้านเท่าที่ทำได้
6.หมั่นสร้างบรรยากาศที่ทำให้เกิดอารมณ์ขัน
7.อย่าทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าเขาเป็นภาระของคุณ
8.เมื่อผู้ดูแลรู้สึกเหนื่อย เหรือเบื่อ ให้หาเวลาผ่อนคลายบ้าง
9.ให้เวลาผู้สูงอายุในการปรับตัวหลายๆ สิ่ง
หากผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องสภาพจิตใจแล้ว อาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า นอนไม่หลับ สมองเสื่อมได้ และเมื่อทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลปรับตัวเข้าหากันได้ดีก็จะส่งผลดี ก่อให้เกิดความสบายใจ ผ่อนคลาย และให้ความรู้สึกสุขใจทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแล...
ขอบคุณข้อมูลจาก : สสส