ข้อมูลจาก : กรมอนามัย
ภาพจาก : pixabay.com
นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการดูแลสุขภาพในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง ประชาชนควรหันมาใส่ใจสุขภาพของตนเอง ให้มากขึ้นเป็นพิเศษในช่วงหน้าฝน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักได้รับผลกระทบต่อสุขภาพได้ง่าย พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้สูงอายุ จึงต้องมีความเข้าใจและรู้จักดูแลสุขภาพของตนเองและลูกหลานอย่างปลอดภัย
เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศ และ ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคไข้หวัด เพราะหากป่วยเป็นไข้หวัดและไม่มีการดูแลสุขภาพที่ดี อาจส่งผลให้เป็นโรค หลอดลมอักเสบและโรคปอดบวมในที่สุด ซึ่งจากข้อมูลเฝ้าระวังโรคจากทุกจังหวัดในประเทศไทย ของส านักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 29 พฤษภาคม 2559 พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 49,720 รายและตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 พฤษภาคม 2559 พบผู้ป่วยโรคปอดบวม 87,605 ราย
นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อไปว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงต้านทานโรคได้คือกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ โดยเลือกอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ปรุงด้วย สมุนไพรไทย เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบกะเพรา กระชาย เป็นต้น เพราะเป็นอาหารที่มีความเผ็ดร้อน เป็นการเพิ่มอุณหภูมิให้แก่ร่างกาย อาหารแต่ละมื้อควรมี ผักผลไม้ตามฤดูกาลที่ให้ผลผลิตในหน้าฝนเช่น มะเขือเปราะ มะนาว ถั่วพู ชะอม ผักหวาน ใบขี้เหล็ก เห็ดโคน กล้วยน้ำว้า ส้มโอ มะเฟือง และ ส้มเขียวหวาน เป็นต้น เนื่องจากผักผลไม้ตามฤดูกาลจะมีราคาถูกและมีสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงน้อยกว่าผลไม้นอกฤดูกาล เพราะถูกรบกวนจากศัตรูน้อยกว่าโดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวตามธรรมชาติ และผักใบเขียวซึ่งเป็นแหล่งของวิตามินซี จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหวัด
เพิ่มภูมิต้านทานในร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุชนิดอื่นๆ และใยอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อให้ระบบต่างๆ ทำงานอย่างเป็นปกติ แต่เวลาปรุงอาหารไม่ควร ให้ความร้อนนานเกินไป เพราะจะทำให้วิตามินซีถูกทำลาย หรือเลือกกินผักผลไม้สดแทน
"นอกจากนี้ ควรหมั่นออกก าลังกายโดยสามารถเลือกออกก าลังกายอย่างง่ายๆ อาทิ เดินเร็วๆ วิ่งเหยาะๆ ขี่จักรยาน เล่นกีฬาที่มีการเคลื่อนไหว อย่างต่อเนื่อง รำมวยจีน หรือแม้กระทั่งการทำงานบ้าน เช่น กวาดบ้านถูบ้าน ซึ่งการเริ่มต้นออกกำลังกายนั้น ควรเริ่มจากเบาๆ ระยะเวลาน้อยๆ ก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายปรับตัว
จากนั้นจึงเพิ่มความแรงหรือความหนัก และการออกกำลังกายในแต่ละครั้งไม่ จำเป็นต้องหนักหรือเหนื่อยมาก โดยทำให้รู้สึกหายใจเร็วขึ้น ไม่ต้องถึงกับหอบ โดยทำเป็นประจำสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน วันละ 30 นาที ก็ เพียงพอที่จะเกิดภูมิคุ้มกัน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้สุขภาพดีในช่วงหน้าฝนแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพที่ดีในระยะยาวอีกด้วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด