“วิธีดูแลเด็กแพ้อาหาร” สำหรับพ่อแม่มือใหม่ | Pattaya City Hospital | โรงพยาบาลเมืองพัทยา เราพร้อมดูแลคุณ

บทความเรื่องสุขภาพ

Health Article

“วิธีดูแลเด็กแพ้อาหาร” สำหรับพ่อแม่มือใหม่

Date : 28 September 2016

ข้อมูลจาก : รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพจาก : pixabay.com

การแพ้อาหาร (Food allergy) คือ ผลต่อสุขภาพ ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเกิดเนื่องจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่เฉพาะเจาะจง และจะเกิดซ้ำได้เหมือนเดิมเมื่อรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง

การแพ้อาหารอาจจัดแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่เกิดอย่างเฉียบพลันโดยมี อิมมูโนโกลบูลิน อี เกี่ยวข้องด้วย และชนิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับ อิมมูโนโกลบูลิน อี ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะชนิดแรกซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยและอธิบายได้

อาการแพ้อาหารพบได้มากน้อยเพียงใด

มีรายงานการเกิดการแพ้อาหารที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกามีรายงานการเกิดการแพ้อาหารตั้งแต่ร้อยละ 1-2 ถึง ร้อยละ10 ในปัจจุบัน การแพ้อาหารพบได้มากขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น ในประเทศออสเตรเลีย พบได้ 1 คนในเด็ก 10 คน เมื่อเด็กอายุ 1 ปี ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา พบได้ 1 คน ใน 15 คน และในประเทศแคนาดา พบได้ 1 คน ใน 20 คน

อาการแพ้อาหารรุนแรงเพียงใด

อาการแพ้อาหารที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่น้อย ปานกลาง จนถึงรุนแรง อาการที่รุนแรงที่สุด คือ เกิดปฏิกริยาเฉียบพลันต่อระบบของอวัยวะในร่างกายที่สำคัญตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป ซึ่งมีผลถึงตายได้ อาการที่เกิดจากปฏิกริยาการแพ้อาหารมีดังนี้

“วิธีดูแลเด็กแพ้อาหาร” สำหรับพ่อแม่มือใหม่ thaihealth

อาหารที่พบว่าทำให้มีการแพ้ได้ มีอะไรบ้าง

อาหารที่พบมีรายงานว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย คือ ไข่ นม ถั่วลิสง ถั่ว (Tree nuts) ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ส่วนอาหารอื่นๆได้แก่ งา เมล็ดพืช อาหารทะเล เนื้อสัตว์ และผลไม้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแพ้อาหารมีอะไรบ้าง

กรรมพันธุ์ พบว่าหากในครอบครัวมีสมาชิกที่เป็นโรคภูมิแพ้ 1 คน ความเสี่ยงในการเกิดการแพ้อาหารจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 หากมีสมาชิกในครอบครัวสายตรงเป็นโรคภูมิแพ้ 2 คน ความเสี่ยงในการเกิดการแพ้อาหารจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80

เผ่าพันธุ์ คนผิวดำที่ไม่ใช่ Hispanic คนเอเชีย และเพศชาย ในเด็ก มีความเสี่ยงสูงในการเกิดการแพ้อาหาร

วิตามิน ดี การขาดวิตะมิน ดี มีผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการแพ้อาหาร

การให้อาหารหลากหลาย การให้อาหารหลากหลายตั้งแต่เป็นทารก อาจจะมีผลป้องกันการแพ้อาหารในช่วงที่เด็กมีอายุมากขึ้น ฯลฯ

อาการแพ้อาหารจะเริ่มเกิดในเด็กในช่วงอายุเท่าใด? อายุเท่าใดอาการจึงจะหายไป? การจัดเตรียมอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดการแพ้อาหารอย่างไรหรือไม่?

“วิธีดูแลเด็กแพ้อาหาร” สำหรับพ่อแม่มือใหม่ thaihealth

“วิธีดูแลเด็กแพ้อาหาร” สำหรับพ่อแม่มือใหม่ thaihealth

“วิธีดูแลเด็กแพ้อาหาร” สำหรับพ่อแม่มือใหม่ thaihealth

อาหารแต่ละชนิดที่เป็นสาเหตุของการแพ้อาหาร มีช่วงเวลาที่เริ่มเกิดในเด็กหรือผู้ใหญ่แตกต่างกัน มีความรุนแรงแตกต่างกัน และอาการแพ้จะหายไปในช่วงอายุที่แตกต่างกันเช่นกัน การได้รับอาหารหรือการจัดเตรียมอาหารในบางครั้งก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดการแพ้อาหารแตกต่างกันไป ดังนี้

อย่างไรก็ดี จากข้อมูลข้างต้น อาการแพ้อาหาร มีอาการตั้งแต่น้อย ปานกลาง ไปจนถึงขั้นเสียชีวิต และพบอาการเริ่มแรกได้ส่วนใหญ่ในวัยเด็ก เมื่อเด็กทารกโตขึ้นถึงอายุหนึ่ง จะทนหรือไม่พบอาการแพ้อาหารโดยเฉพาะ นม ไข่ ถั่วเหลือง และข้าวสาลี แต่การแพ้ถั่วลิสง ถั่ว Tree nuts และอาหารทะเลจะยังคงอยู่ตลอดชีวิต การให้อาหารกับเด็กในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้อยู่ ควรกระทำอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในกรณีของถั่วลิสง และถั่ว Tree nut ซึ่งสามารถเป็นสาเหตุของอาการแพ้ถึงตายได้ หากไม่แน่ใจ ควรยึดนโยบายหลีกเลี่ยงการกินอาหารนั้นๆไว้ก่อน ในส่วนของส่วนประกอบของอาหาร หากเป็นอาหารสำเร็จรูป ผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบจะมีการระบุไว้ที่กล่องหรือฉลาก แต่ในกรณีของร้านอาหาร ภัตตาคาร ควรต้องสอบถามพนักงาน/เจ้าหน้าที่ ให้แน่ใจก่อน

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ถือเป็นข้อปฏิบัติ ที่จะเริ่มต้นให้อาหารไข่ และนม ในรูปของอาหารที่ผ่านการให้ความร้อนสูง กับเด็กทารกที่แพ้ไข่หรือนม เพื่อช่วยเร่งการทนอาหารไข่และนมในรูปอื่นๆได้เร็วขึ้น ท้ายที่สุด ควรทำการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องโรคภูมิแพ้ ในการดูแลเด็ก หรือผู้ใหญ่ในครอบครัว